สถาบันทักษิณคดีศึกษา ร่วมแสดงความยินดีกับมรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทย "การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง"

 สถาบันทักษิณคดีศึกษา ร่วมแสดงความยินดีที่การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบดั้งเดิมของท้องถิ่น  ผ่านความเห็นชอบการจัดการประชุมที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ของ FAO  ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕


โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาของ GIAHS มีทั้งหมด ๕ ข้อ คือ 

1. ความมั่นคงอาหาร / ชีวิตความเป็นอยู่ดี 

2. ความหลากหลายทางชีวภาพเกษตร

3. ระบบความรู้ / ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีมาแต่ดั้งเดิม

4. วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม

5. ลักษณะภูมิทัศน์ และภูมิทัศน์ทางทะเล 

ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่  "การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง"(ภายใต้ชื่อ "Thale Noi Wetland Pastoral Buffalo Agro-ecosystem) ได้รับการยอมรับในระดับสากล ถือเป็นวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และส่งเสริมให้ยั่งยืน เพื่อส่งต่อเป็นมรดกสู่คนรุ่นต่อๆไป ซึ่งชุมชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการตระหนักรู้รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ การได้ขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโต และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพัทลุง พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และประเทศไทย


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น
ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล