ห้องประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ุภาคใต้

ห้องประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์

History and Ethnology Room

 



คาบสมุทรภาคใต้ พบหลักฐานการอยู่อาศัยของกลุ่มชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ตั้งแต่ 40,000-2,200 ปีมาแล้ว) ที่สำคัญได้แก่ ชนชาวน้ำ และชนชาวถ้ำ อยู่อาศัยตามถ้ำ เพิงผา รวมถึงบริเวณที่ราบหรือเพิงผาถ้ำตามแนวชายฝั่งทะเล ดำรงชีพด้วยการจับสัตว์ หาของป่า ซึ่งเป็นสังคมแบบสังคมนายพราน พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือหินแบบต่างๆ หินทุบเปลือกไม้ สำหรับทำเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งการสร้างสรรค์งานศิลปะได้แก่ภาพเขียนสีตามถ้ำ หรือการทำเครื่องดนตรีจากหินที่เรียกว่า ระนาดหิน และเริ่มปรากฏหลักฐานการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนภายนอกตั้งแต่ประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน หลักฐานที่สำคัญได้แก่ เวียดนาม ซึ่งพบในคาบสมุทรภาคใต้ถึง 14 ใบด้วยกัน

There are evidences, dated back to 40,000-2,200 years ago, indicated that the peninsular in the South was the habitats since the prehistoric period especially of sea gypsies and  cave dwellers as well as the plain land along the coastlines where were the society of hunters communities that many potteries and earthen wares were found with stone tools. Arts paintings were seen in caves and grottos. Music instruments called stone xylophones were discovered. The unclear evidences of trading and cultural exchange with other communities since 2,000-3,000 years ago were discovered especially among the communities in the region of South East Asia with distinguished 14 evidences to Vietnam that were found in the southern peninsular.


ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ภาคใต้ (พุทธศตวรรษที่ 5-12) กลุ่มชนในภาคใต้เริ่มมีพัฒนาการที่สูงขึ้นเป็นลำดับ มีความเป็นอยู่แบบสังคมเกษตรกรรม ขณะที่เมืองตามชายฝั่งทะเลมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้ชนพื้นเมืองได้รับวัฒนธรรมจากกลุ่มชนภายนอกมากขึ้นซึ่งเป็นกลุ่มชนสมัยประวัติศาสตร์แล้วโดยเฉพาะอินเดีย ทั้งด้านความเชื่อ ศาสนา การค้า การปกครอง รวมทั้งด้านของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทั้งการหลอมโลหะและแก้ว จนกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญเริ่มปรากฏการใช้ตัวอักษรในการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ นอกจากนี้ กลุ่มชนในสมัยนี้ยังได้รู้จักทอผ้าใช้เองโดยใช้แวดินเผาในการปั่นฝ้าย มีการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือที่ใช้ตุ้มถ่วง รู้จักทำเครื่องประดับที่ทำด้วยวัสดุประเภทต่างๆ นอกจากทำจากเปลือกหอยหรือกระดูก หรือการใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสำริดหรือเหล็ก มีการยอมรับนับถือศาสนาแล้วทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ จึงพบประติมากรรมรูปเคารพทั้ง 2 ศาสนาซึ่งส่วนใหญ่ยังคงมีรูปแบบศิลปะแบบอินเดีย

Since the early times of the history of the South (5th-12th Buddhist Era), communities in the South developed to be in the state of agriculture society while the seaside towns turned to be major commercial seaports that made the local people got more culture from other communities such as India that had already become a historic community whether in belief, religion, trading, administration, and advancement in fused glass and forge that made it became an important source of industry in South East Asia. Taking notes to record matters was begun. Moreover, the communities in those time knew to do their woven fabric, catch fish with tool, make ornaments from various materials other than shells or bones, or use metal tools. Religion faiths were accepted both Brahmanism and Buddhism, so the religious images were found and mostly of the arts of India.
 

 


ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ชุมชนในภาคใต้มีลักษณะเป็นชุมชนที่อยู่ภายใต้ระบบสังคมและการเมืองแบบเดียวกัน มีลักษณะเป็นนครรัฐและศูนย์กลางการปกครองโดยรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นแม่แบบในการจัดระเบียบสังคม อาจกำหนดเรียกว่า “สมัยศรีวิชัย” อย่างไรก็ดี บทบาทที่สำคัญของชุมชนต่างๆ ในภาคใต้ในช่วงเวลานี้ก็ยังคงเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ ซึ่งพบว่าคาบสมุทรภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางทะเลที่เรียกว่า “เส้นทางสายเครื่องเทศ” ภายในคาบสมุทรเองมีเส้นทางข้ามคาบสมุทรที่สำคัญอยู่หลายสายด้วยกัน เช่น ทุ่งตึก-แหลมโพธิ์ เป็นต้น ส่วนศูนย์กลางการปกครองที่สำคัญในช่วงเวลานี้ได้แก่ เมืองไชยา หรือศรีวิชัย เมืองปัตตานี หรือลังกาสุกะ เมืองนครศรีธรรมราช หรือตามพรลิงค์ และเมืองสทิงปุระ-พัทลุง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้

During the 12th-18th Buddhist Era, communities in the South were under the same society and politicality that were city-state with centered governance influenced over by the culture of India in social reform. The period might be able to be called “Srivijaya Period”. However, significant roles from communities in the South were still main seaports. The southern peninsular was within the “Spice Route” while the peninsular itself also had some crossing routes such as Thung Tuek-Laem Bodhi and so on. Main administrations were at Chiya or Srivijaya, Pattanai or Langkasuka, Nakhon Si Thammarat or Tambralinga, and Sathingpura-Phatthalung.

 

โบราณวัตถุประเภทต่างๆ ที่พบในปัจจุบัน ซึ่งมีอายุกว่า 1,000 ปีนั้น เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณคาบสมุทรภาคใต้มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองและชนต่างชาติ นำไปสู่การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการเลือกรับปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมทั้งภาพของการเป็นเมืองที่มีบทบาทในฐานะเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ ขณะเดียวกันก็ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของชนต่างชาติที่เข้ามาบริเวณภาคใต้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพ่อค้า นักบวชผู้เผยแพร่ศาสนา รวมทั้งช่างฝีมือด้านต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในภาคใต้ที่สำคัญจึงอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนได้แก่ อิทธิพลทางศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรับโดยตรงจากอินเดีย และโดยอ้อมจากทางชวา- มลายู จึงมีทั้งการนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาอิสลาม ซึ่งการยอมรับนับถือศาสนานั้นจึงมีผลต่อการปฏิบัติตัวของกลุ่มชนพื้นเมืองด้านต่างๆ ค่อนข้างมาก ซึ่งอิทธิพลทางศาสนานี้ส่วนใหญ่แล้วก็ถูกนำเข้ามาโดยชาวต่างชาตินั่นเอง จึงเป็นอิทธิพลส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ ทางฝั่งตะวันตกได้แก่ อินเดีย อาหรับ-เปอร์เซีย กรีก-โรมัน (ผ่านมาทางอินเดีย) ส่วนตะวันออกที่ได้สำคัญได้แก่ จีน และชวา-มลายู

Antiques and objects d’art that were discovered and dated to over 1,000 years ago indicated that the southern peninsular had connection with communities and had cultural exchange among local communities and with foreigners that led to cultural adopting in suitable to their ways of life. The status of being main seaports revealed the status of foreigners coming in whether they were merchants, priests, craftsmen, etc. The cultural influences existed in the South could be divided in 2 parts of religion that directly from India and indirectly from Java-Melayu that resulted in the faith in Buddhism, Brahmanism, and Islam. Such religious faith adopted in by foreigners and influenced over the culture. The western culture was from India, Arab-Persia, Greek, Roman, and the eastern culture was from China, Java, and Melayu. 

 



นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาชาวต่างชาติที่มีบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ด้วย ได้แก่ จีน และชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวจีนนั้นแม้ว่าจะปรากฏหลักฐานตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษแล้วก็ตามซึ่งพบว่าชาวจีนมีการอพยพเข้ามาบริเวณนี้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้ามาเป็นกรรมกรจนกระทั่งเป็นเจ้าสัวเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีบทบาทเป็นเจ้าเมืองปกครองดูแลบ้านเมืองในคาบสมุทรภาคใต้อย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันลูกหลานจีนก็ยังคงมีบทบาทในสังคมไทยอย่างมาก ส่วนชาวยุโรปนั้น แม้จะไม่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพเช่นเดียวกับคนจีน แต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยอารยธรรม  ความเจริญแบบตะวันตกไว้ให้อย่างมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของรสนิยมในการดำเนินชีวิตที่ค่อนข้างหรูหรา ข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างเช่นเครื่องมือในการรบ การสร้างบ้านแบบตึก เป็นต้น

Since the 12th Buddhist Era onwards, foreigners played major role in the region of South East Asia including the peninsular in southern Thailand. They were from China and European countries. Though the Chinese people were found that had been dwelling since the early age of Buddhist Era, more Chinese people migrated in constantly since they were labors until they are now tycoons. Moreover, some of them also were the ruler in the southern peninsular, and the lineage of Chinese people are now having many roles in Thai society. Europeans people, thought they did not settle down as the Chinese people did, but the Western civilization were left remaining especially the luxury way of living, daily utensils, modern technology, western style buildings, etc.

 

ชนพื้นเมืองและภาคใต้สมัยประวัติศาสตร์ชาติไทยชนพื้นเมืองภาคใต้ที่ยังคงปรากฏอยู่ถึงปัจจุบันที่สำคัญได้แก่ ชาวเล และซาไก ซึ่งต่างก็มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันในภาพรวมได้แก่ การดำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ความเชื่อในธรรมชาติ การเคารพในสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นต้น แต่ทั้งสองกลุ่มนี้ก็มีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไป โดยซาไกจะอยู่อาศัยตามภูเขาป่าทึบหรือตามริมผาที่เป็นเนินสูงใกล้ลำธาร ส่วนชาวเลจะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลและตามหมู่เกาะ เรียนรู้จากธรรมชาติในเรื่องการรักษาโรค การควบคุมประชากร การสร้างสรรค์งานศิลปะโดยเฉพาะเครื่องดนตรี มีพิธีกรรมในการปัดเป่าเภทภัย เช่น การลอยเรือสะเดาะเคราะห์ของชาวเล

Native people of the South that are descending and existing until the present days are Sea Gypsies and Sakai tribal people that they maintain their unique way of life but in similar look on the side of depending on the nature, belief in the nature, respect the nature, etc. However, both groups live their lives differently. Sakai tribal people live the the woods or high cliff near source of water while sea gypsies spend their lives along the coasts and islands. They learn from the nature on medical treatment, population control, art creation especially music, ritual function on removing calamity such as in the function of floating boat of sea gypsy.


 



ภายหลังสมัยนครรัฐโบราณ หรือตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19-20 เป็นต้นมา  ศูนย์กลางการปกครองบริเวณภาคกลางของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เข้ามามีบทบาทต่อการเมืองการปกครองในบริเวณภาคใต้เป็นอย่างมาก เช่น การเป็นเมืองประเทศราช  การเป็นเมืองลูกหลวง การที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการ  มีการแต่งตั้งผู้ปกครองลงมาจากเมืองหลวง มีการจัดระบบการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลหมายถึงโครงสร้างทางการปกครอง ได้เปลี่ยนเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางก่อนที่จะมีปกครองเป็นแบบการแบ่ง เป็นเขตจังหวัดดังเช่นปัจจุบัน นอกจากการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองการปกครองแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมด้านต่างๆ ด้วยเช่น การรับวัฒนธรรมประเพณีจากเมืองหลวง การศึกษาที่มีการจัดระบบแบบตะวันตก รวมทั้งการใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทย งานศิลปกรรมแบบเมืองหลวงที่มาผสมผสานกับศิลปะโดยช่างฝีมือท้องถิ่น เป็นต้น

After the 19th-20th Buddhist Era or during the period of city state, the central administration of Thailand, whether Sukhothai, Ayutthaya, and Rattanakosin Kingdoms, took major role on administration on the South such as dependency region and sub city that were tributary. The rulers were appointed from the capital city. Administration system was reformed into provinces as they are in the present along with social and cultural changes  such as deriving culture and tradition from the capital city, modern education system, using Thai alphabets and Thai language, art works from combination of capital city and locality, etc.


Updated by Ratchakarn Witchurangsri