ห้องวิถีชีวิตชาวใต้

ห้องวิถีชีวิตชาวใต้

โชคชะตาราศี

               โชคชะตาราศี เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่เกี่ยวกับการแพทย์ อันหมายถึง การทำนายหรือคาดการณ์เกี่ยวกับบุคคล สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอื่น ๆ รวมถึงเหตุการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต การพยากรณ์เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นข้อสังเกตที่คนสมัยก่อนรวบรวมไว้คล้าย ๆ กับการเก็บข้อมูลทางสถิติแล้วนำมาใช้ในการพยากรณ์ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป โชคชะตาราศีจึงเป็นเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการพยากรณ์ของบุคคลตามวัน เดือน ปีเกิด และรูปลักษณ์ร่างกายที่จะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ความเสื่อมถอย ความเป็นมงคล อัปมงคล ในความเป็นไปของชีวิตบุคคลนั้น ๆ

               การพยากรณ์ ผู้พยากรณ์มักสังเกตจากลักษณะร่างกาย วัน เดือน ปีเกิด การอัญเชิญภูตผี เทวดามาเข้าทรง การเสี่ยงตาย เช่น การแทงศาสตรา การทอดเบี้ย เซียมซี การดูนิมิตจากตำรา การเข้าฌาน การดูฤกษ์ยาม การทำนายจากลางสังหรณ์ เป็นต้น ซึ่งจัดแบ่งการพยากรณ์ออกได้ 4 หมวดดังนี้

1.      หมวดนรลักษณ์ศาสตร์ หมายถึง  การพยากรณ์โดยสังเกตจากลักษณะร่างกาย เช่น หน้า รูปร่าง ลายมือ อิริยาบทต่าง ๆ เป็นต้น

2.      หมวดหัตถศาสตร์ หมายถึง  การทำนายลักษณะชีวิต จิตใจ ความเป็นมาต่าง ๆทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยอาศัยการสังเกตจากเส้นที่ปรากฎเป็นลายนิ้วมือ ซึ่งจะดูลักษณะฝ่ามือ นิ้วมือ เล็บ เป็นบนฝ่ามือ และเส้นสำคัญ 3 เส้น คือ เส้นชีวิต เส้นจิตใจ  และเส้นสมอง

3.      หมวดไสยศาสตร์ หมายถึง  การทำนายหรือการพยากรณ์ที่มีการอัญเชิญภูตผี เทวดามาเข้าทรงในร่าง แล้วให้ช่วยทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าฌาน การเสี่ยงตาย โดยใช้เซียมซี ตำราดูนิมิต แทงศาสตรา ทอดเบี้ย เพราะเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะบอกชะตาชีวิตของคนในช่วงนั้น การทำนายทางไสยศาสตร์ยังหมายรวมถึงการทำนายเกี่ยวกับโชคลาง ได้แก่ การทำนายฝัน และลางสังหรณ์อื่น ๆด้วย

4.      หมวดโหราศาสตร์ หมายถึง  การทำนายโดยมีการคำนวณตัวเลขเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี แล้วผูกดวง เพื่อทำนายความเชื่อทางด้าน โหราศาสตร์ยังเกี่ยวกับการดูฤกษ์ยาม วันดี วันร้ายด้วย

ความเชื่อเกี่ยวกับการดูโชคชะตาราศีเพื่อ พยากรณ์หรือทำนายทายทัก จึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวใต้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดูโชคชะตาราศีจึงเป็นทั้งปัจจัยส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา


Fortune

     Fortune has been a belief concerning medical treatment that refers to fortune telling or prediction for an individual and other non-living things including the past, the present, and the future. Prediction has been an inherited belief since the old times. It is noticeable that people in those days collected information in the similar way to collecting statistic facts and used the information in prediction. Fortune has been about the belief in telling fate of an individual by date of birth and physical appearance that would predict the good and the bad in the life of an individual.

A fortune teller would notice the physical look and date of birth along with other technique or superstitious power such as  sorcerer, meditation, foretoken, premonition, etc. The fortune telling can be divided in 4 categories as follows.

1.         Physiognomy refers to the prediction from physical look.

  1. Hand reading refers to prediction from the lines on palm with three important lines of life, mind, and brain.
  2. Superstition refers to the prediction from spirits including meditation, cast lots, etc. in following to the belief that the spirits would tell fortune of an individual. Superstition also refers to oneiromancy and premonition.
  3. Astrology refers to the prediction by calculating from date of birth and then tell the fortune.

 

Belief in fortune telling or fortune prediction has been influencing over the way of life of southern people since the old times even in the present. Fortune telling then has been of both supporting and obstructing factor to life development..

การนวดแผนโบราณ

          การนวดแผนโบราณ เป็นวิธีการหนึ่งในการบำบัดรักษาและดูแลสุขภาพของคนไทยตาม การแพทย์แผนไทย ซึ่งมีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การอบ การประคบ และการนวด ที่เรียกกันทั่วไปว่า “การนวดแผนโบราณ” การนวดแผนโบราณ มาจากหลักการของการแพทย์แผนไทยที่เชื่อว่าความเจ็บป่วย เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งมีเหตุปัจจัยจากสัจธรรมในชีวิตมนุษย์ที่มีการเกิด แก่เจ็บ ตาย รวมทั้งอิทธิพลของพฤติกรรมของมนุษย์เอง การบำบัดรักษาจึงมุ่งเน้นที่การแก้สมดุลของธาตุทั้งสี่ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การอบ การประคบ การนวด รวมทั้งพิธีกรรมอื่น ๆ การบำบัดรักษาความเจ็บปวดด้วยวิธีการนวดแผนโบราณ ก็เพราะเชื่อว่าเส้นต่าง ๆ ใ

        การนวดแผนโบราณ เป็นวิธีการหนึ่งในการบำบัดรักษาและดูแลสุขภาพของคนไทยตาม

               การแพทย์แผนไทย ซึ่งมีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การอบ การประคบ และการนวด ที่เรียกกันทั่วไปว่า การนวดแผนโบราณ

              การนวดแผนโบราณ มาจากหลักการของการแพทย์แผนไทยที่เชื่อว่าความเจ็บป่วย เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งมีเหตุปัจจัยจากสัจธรรมในชีวิตมนุษย์ที่มีการเกิด แก่เจ็บ ตาย รวมทั้งอิทธิพลของพฤติกรรมของมนุษย์เอง การบำบัดรักษาจึงมุ่งเน้นที่การแก้สมดุลของธาตุทั้งสี่ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การอบ การประคบ การนวด รวมทั้งพิธีกรรมอื่น ๆ


          การบำบัดรักษาความเจ็บปวดด้วยวิธีการนวดแผนโบราณ ก็เพราะเชื่อว่าเส้นต่าง ๆ นร่างกายเกิดวิปริตติดกันขึ้นมา หรือเกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ การนวดแผนโบราณจึงถือว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งหรือเป็นองค์ความรู้ที่มีการเรียน การสอน การสอบ และมีตำราเป็นแบบเรียนสืบทอดกันมา

          ตัวอย่างวิธีการนวดแผนโบราณเพื่อบำบัดรักษาความเจ็บป่วย

          ตอนหนึ่งว่าสิทธิการิยะ ที่นีจะกล่าวแผนนวด แก้สรรพโรคทั้งปวง แก้ปวดหัวปะสังแล

          สันนิบาตนวดแนวขนงคิ้วทั้งสองข้างแล

         ชิวหาสดมภ์และสะอึก นวดซอกคอข้างหน้าแล

          แก้ราก นวดอกแล

          แก้ปัตคาด นวดหัวไหล่ต้นแขนแล แก้เมื้อยตัวแลไข้สั่นนิบาตปากเบี้ยว นวดตาศอข้างขวาแล แก้มวนท้องและลมอัสวาตอัสดมภ์ นวดท้องริมสีข้างต่อสะดือแล แก้นอนมิหลับ นวดหน้าแข้งซ้ายแล แก้ชิวหานวดเส้นเท้าท้องเท้า ตามตาตุ่มขึ้นไปริมแป้งถึงห้องเข่าซ้ายแล

 Ancient Massage

          Ancient massage is a physical therapy and health care of Thai people in following to Thai medical treatment that included herbal treatment, stifling, hot compression, and massage which is widely known as “ancient massage”.

           Ancient massage originated from the principle of Thai medical treatment that believed that a sickness is from imbalance of the 4 elements i.e. earth, water, wind, and fire that is the consequence in the truth of life that everyone must be of birth, ageing, sick, and death as well as the influences of human’s behaviors. The treatment emphasizes on correcting the balance of the 4 elements such as herbal medicine, hot compression, massage, and some treatment functions.

         The treatment by massage is on the belief to cure malfunctioned of nerves or the cause from evils. Ancient massage is a science with studying and inherited knowledge textbooks.

ประเพณีออกปากกินวาน

               ออกปากกินวาน เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวบ้านภาคใต้ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเช่นเดียวกับประเพณี ลงแขกของชาวภาคกลาง ออกปากกินวาน หมายถึง การไหว้วานให้เพื่อนบ้านมาช่วยกันลงแรงทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้งานหนักหรือเร่งด่วนสำเร็จลุล่วง โดยที่ผู้ไหว้วานไปบอกกล่าวด้วยวาจาจึงเรียกการไหว้วานลักษณะนี้ว่า ออกปากและถือเป็นประเพณีที่เจ้าภาพจะต้องเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมลงแรงผู้ไปร่วมจึงมักใช้คำว่า ไปกินวาน

               ประเพณีออกปากกินวาน ผู้ที่ไปร่วมแรงแต่ละคนจะจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ไปเองเช่น ไถนาวานก็จะนำทั้งไถและวัวหรือควายไปด้วย เก็บข้าววานก็จะนำเกาะสำหรับเก็บข้าวไปเอง หาบข้าววานก็จะต้องนำแสก (สาแหรก) ของตนเองไปด้วย เป็นต้น และเจ้าภาพต้องแจ้งกำหนดวันทำงานให้เพื่อนบ้านทราบล่วงหน้า ส่วนระยะเวลาเริ่มต้นทำงานถือว่าเป็นที่รู้กันเองว่าวานทำงานอะไร ควรเริ่มต้นเวลาใด เช่น ไถนาวานก็ต้องเริ่มแต่เช้าตรู่ วานซ้อมข้าวสารก็ต้องเริ่มตอนหัวค่ำ เป็นต้น

               อาหารที่เจ้าภาพจัดมาเลี้ยงผู้มากินวาน ก็นิยมทำกันเป็นประเพณี ถ้างานนั้นเป็นงานที่ต้องทำตลอดวันจะต้องเลี้ยงอาหารหนักทั้งคาวและหวาน แต่ถ้างานนั้นมีระยะสั้นหากเป็นตอนกลางวันและไม่ตรงกับมื้อเที่ยงนิยมเลี้ยง เหนียวหละวะคือ ข้าวเหนียวที่ราดด้วยน้ำยา (ปรุงด้วยน้ำกะทิ น้ำตาลผสมด้วยไข่และสาคู ให้หวานและมันจัด) ขนมทั้งสองอย่างเจ้าภาพสามารถประหยัดและง่ายต่อการกะปริมาณให้พอกับการเลี้ยงแขก

               ชนิดของงานที่นิยมออกปากเพื่อนบ้านมาลงแรงกินวาน ซึ่งนิยมกระทำกันเป็นประจำและมีแนวปฏิบัติ โดยอาศัยความจำเป็นเกี่ยวกับการทำไร่ไถนา เช่น วานไถนา วานดำนา วานเก็บข้าว วานหาบข้าว นอกจากนี้ยังมีประเพณีออกปากกิน

Tradition of asking for a favor and compensating the request ( Ork-Pak-Kin-Wan )

        “Ork-Pak-Kin-Wan” is a tradition of southern people in similar way to “Long-Khaek” of the central region. The tradition refers to asking for help from neighbors for laboring in a work to be accomplished. The requester requested for help from neighbors and provided food for eating altogether after the work finished.

          This tradition, the neighbors had to bring along their own tools and equipments such as in a ploughing of a paddy field they brought their ploughs with them, or in a rice harvest they brought sickles for cutting rice with them. The day of laboring would be scheduled and the neighbors knew what time they should be the time to start helping.

          The provided food was also cooked up traditionally. The all day work would be rewarded with heavy meals or the shorter period of work would provide  the lesser foods, but the food would be sufficient for everyone who helped.

          Most requests were concerning to rice field activities regarding to the necessity such as ploughing, harvesting, transferring, etc.

การเกิด: วัฒนธรรมไทยพุทธ

               ประเพณีเกี่ยวกับการเกิดของชาวปักษ์ใต้ เป็นประเพณีที่มีความสำคัญซึ่งมีความเชื่อและข้อปฏิบัติหลายอย่างที่ได้ยึดถือสืบทอดกันมาช้านาน เช่น ชาวปักษ์ใต้เชื่อว่ามารดาตั้งครรภ์ได้ โดยการจุติของวิญญาณ ซึ่งจะมีลางบอกเหตุให้รู้ เช่น ดาวตก หรือ ความฝัน และเมื่อตั้งครรภ์แล้วก็มีข้อห้ามและข้อปฏิบัติหลายประการ เช่น ห้ามนั่งคาบันไดเรือน เพราะเชื่อว่าจะทำให้คลอดยาก ควรถือศีลห้าและกินกล้วยน้ำว้า  เป็นต้น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ท้องแรกจะต้องไปฝากครรภ์กับหมอตำแยเมื่อครบ 7 เดือน ส่วนท้องต่อไปฝากเมื่อครบ 9 เดือน หลังจากฝากครรภ์แล้ว หมอตำแยจะตรวจครรภ์ คัดท้องก่อนคลอด 2-3 ครั้ง เพื่อให้เด็กอยู่ในท่าปกติ

               การคลอดและอยู่ไฟ ขณะที่แม่กำลังจะคลอด สามีจะเอาหนามมาสุมไว้ตรงที่แม่นอนคลอดเพื่อกัน ผีกระส่วนหมอตำแยจะทำพิธีราด หรือตั้งราด โดยเชิญครูหมอตายายของผู้ที่จะคลอดของหมอตำแย และของสามีมาช่วยอำนวยให้ ลูกตกรกตามคือเมื่อคลอดลูกแล้ว ให้รกตามออกมาทันที ไม่ตกค้างอยู่ในท้องหรือตกเลือด หลังจากคลอดเสร็จแล้วหมอตำแยจะนวดให้แม่โดยวิธีเหยียบหรือ เหยียบสุมเพื่อให้เอ็นของแม่เข้าที่ แล้วหมอจะอาบน้ำอุ่นทำความสะอาดให้แม่ต่อมาแม่จะต้องกิน ข้าวเรียนคือข้าวเย็นก้นหม้อตำผสมกับพริกไทยและเกลือ  แล้วขึ้นแคร่อยู่ไฟเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่นแข็งแรง ใช้ก้อนเส้า ประคบท้องให้มดลูกแห้งและเข้าอู่ ถ้าเป็นท้องแรกแม่จะอยู่ไฟ 9 วัน ส่วนท้องต่อมาอยู่ไฟ 5-7 วัน ระยะที่อยู่ไฟนี้หมอตำแยจะมานวดให้แม่ในตอนเช้าและเย็น เพื่อจับเส้นให้หายปวดเมื้อย เลือดลมเดินปกติและน้ำนมไหลดี เมื่ออยู่ไฟครบกำหนดแม่จะ ออกไฟคือเลิกอยู่ไฟในวันออกไฟนี้หมอตำแยจะทำพิธี ปัดราดคือวิธีที่จะนำเครื่องบูชาตั้งราดออกไป โดยบอกกล่าวให้ครูของหมอตำแยและของพ่อแม่เด็กทราบด้วย

               การบริบาลทารก เมื่อทารกคลอดแล้วหมอตำแยจะรีดท้องแม่ให้รกออกตามมาให้หมด จากนั้นจะอุ้มเด็กให้คว่ำหน้า แล้วใช้มือล้วงคว้านเอาน้ำคร่ำในปากเด็กออก เพื่อให้เด็กหายใจได้สะดวก เด็กจะร้องออกมาจากนั้นหมอจะตัดสายสะดือให้เด็กด้วยไม้ไผ่บาง ๆ โดยผูกสายสะดือด้วยด้ายดิบเป็นสองหรือสามเปลาะเอาสายสะดือเปลาะที่สองพับจากตัวเด็กวางขนขมิ้นแล้วตัด จากนั้นก็อาบน้ำให้เด็กเสร็จแล้วห่อด้วยผ้านุ่มและสะอาด นำเด็กไปนอนบนที่นอน ซึ่งจัดวางไว้ในกระด้งแล้วเขย่าและร่อนเบา ๆ แสดงว่าไม่ใครรักเด็กคนนั้น ผีก็จะไม่สนใจส่วนรกก็จะนำไปฝัง โดยใส่เกลือ และพริกไทยดำคลุกกับรกแล้วใส่ลงในหม้อดิน หรือกระสอบนั่งปิดด้วยผ้าขาว นำไปฝังใต้ต้นไม้ เช่น ถ้าฝังใต้ต้นส้ม เชื่อว่าเด็กจะฉลาดเฉียบแหลมเหมือนหนามส้ม

               เมื่อเด็กนอนในกระด้งครบ 3 วัน หมอจะทำพิธีเปิดปากเด็ก โดยใช้หนามหรือเข็มจำนวน 3 เล่ม จิ้มน้ำตาลแว่น หรือขนมหวานแหย่ในปากเด็กให้เด็กดูด ทั้งนี้เพราะต้องการให้เด็กเป็นคนพูดเพราะอ่อนหวาน ขณะที่ทำพิธี หมอจะว่าคาถาให้ปากเป็นศรีมีธรรมะ และระวังรักษาวาจา หลังจากนี้หมอก็จะทำพิธีขึ้นเปล หรือนำเด็กลงเปล และทำขวัญเด็กต่อไป

               เมื่ออายุประมาณ 1-2 ปี เด็กเริ่มหัดเดิน ซึ่งพ่อแม่จะสร้างกระบอกเวียนให้เด็กเวียนจนเดินได้ชำนาญ การสร้างกระบอกเวียนถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

Birth Culture of Buddhist Thai

          The culture of birth in southern people has been of some belief and regulation such as the belief got pregnant because of the advent of a spirit with signified clue, for example, dream or falling star. Upon pregnancy, there were many regulations such as do not sit on the stairs under the belief of difficulty of giving birth, do take the five precepts and do eat banana, etc.

           First time pregnancy, the mother must be antenatal care at 7-month pregnant or the later time pregnancy must be antenatal care at 9-month pregnancy. Midwife would check up the pregnancy and provided “adjustment” to the pregnant mother a few times before giving birth for the baby would be in normal position.

         Giving birth and the recovery after giving childbirth. The husband of the pregnant wife would prepare thorn woods around the wife in preventing “kra ghost”, midwife would perform functions and technique that would facilitate for easy and safe birth to both mother and child.

          New born baby would be treated by midwife with safely care and traditional belief and hygiene. When the baby grew up to 1-2 years old, an equipment named “krabok-wien” (walk learning tool) would be produced. It is a local wisdom.


การเล่นของเด็กภาคใต้

               การเล่นเป็นธรรมชาติของเด็กทุกคน สามารถเล่นได้ทุกโอกาสโดยไม่เลือกเวลาและสถานที่ และไม่ว่าจะมีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เป็นของเล่นหรือไม่ก็ตาม

               การเล่นของเด็กภาคใต้แต่ละกลุ่มจะมีลักษณะเด่นตามสภาพภูมิศาสตร์และสังคม วัฒนธรรม เช่น ในชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลองเด็กก็จะมีการเล่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำ การหาปลา  และภัยจากจรเข้ ชุมชนชาวนาเด็กจะเล่นเกี่ยวกับข้าวหรือทุ่งนา เช่น เล่นขี่ซังข้าว ชุมชนที่ทำสวนยางมีการเล่นลูกยาง เศษยาง และเปลือกลูกยาง ชุมชนที่ทำสวนมะพร้าวก็นิยมเล่นโดยใช้กะลามะพร้าว เช่น กุบกับ ทอยราง โรงสีพรก ฯลฯ ซึ่งการเล่นของเด็กดังกล่าวก็อาศัยเลียนแบบการดำรงชีพ และขนบธรรมเนียมของสังคม ซึ่งผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมาอีกต่อหนึ่ง

               การเล่นของเด็กภาคใต้ จำแนกออกเป็น 18 ประการ ได้แก่ คัดออก-เสี่ยงทาย, ไล่-จับ, ทาย, โยนรับ, กระโดด, ล้อ-กลิ้ง, ขว้าง-ป่า, ซ่อนหา, เดิน-วิ่ง, เล่นยาง, เล่นเลียนแบบ, เล่นสัตว์, ร้องเพลง-คำล้อ, ขี่-ไกว, เตะ-ถีบ, ดิน-หมาก, เล่นน้ำและประเภทอื่น ๆ การเล่นของเด็กภาคใต้ที่เด่น ๆ ซึ่งจัดแสดงในครั้งนี้ ได้แก่ การเล่นว่าว การเล่นหมากขุม และการเล่นปั้นวัวปืนควาย

               คุณค่าการเล่นของเด็ก นอกจากจะทำให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน มีอารมณ์เบิกบาน แจ่มใสแล้ว ยังมีคุณค่าในการเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมช่วยพัฒนาทางด้านภาษา ตลอดจนสะท้อนความเป็นไปทางสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย 

Local Entertainment Activities of Southern Children

         Children often play around no matter of time and place with or without toys. Southern children had their entertaining activities depending on the location, culture, and social such as the children of riverside community would play something relating to water such as fishing or escaping from crocodile, children in rice field community would play something in the rice field, children in coconut plantation would be enjoying with toys from coconut trees. The entertaining activities of children copied the activity from occupation in their locality and social that their parents and other adults did.

          The entertaining activities of children in the South could be organized in 18 categories i.e. sort out - cast out, chasing, guessing, pitching-taking, jumping, wheeling, throwing, hiding, walking-running, rubber band playing, imitating, playing with animals, singing, riding - swinging, kicking, board games, and enjoying with water. The distinguished games of southern children on the displays are kite flying, mancala, kneading up cow and buffalo.

          Value of children’s plays are not only entertaining and enjoyable but also supporting in physical and mental development as well as improvement in social, language, and reflecting to the conditions of social and culture.

ประเพณีสระหัว

               ประเพณีสระหัว เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ นิยมจัดขึ้นในวันว่าง หรือวันสงกรานต์ซึ่งตรงกับวันที่ 13-14-15 เมษายน ของทุกปี

              ประเพณีสระหัวในวันว่างของชาวใต้การปฏิบัตินิยมกระทำกับพระ ภิกษุอาวุโสหรือผู้สูงอายุที่ประชาชนยกย่องนับถือ ขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มโดยประชาชนจะร่วมมือกันสร้าง เบญจาหรือชาวบ้านเรียกว่า บินจาหรืออาจจะใช้เบญจาสำเร็จรูปที่สร้างไว้แล้วก็ได้ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทรงมณฑป มีลวดลายแกะสลักสวยงาม ประกอบด้วยฉัตรและพุ่มบายศรี จากเบญจาต่อท่อน้ำเป็นตัวพญานาคเล็กน้อย และเจาะรูไว้ให้น้ำไหลไปสู่เบญจา การสระหัวหรือรดน้ำดำหัวประชาชนจะนิมนต์พระภิกษุผู้อาวุโส ซึ่งบางรูปจะถือวัตรปฏิบัติโดยการอาบน้ำปีละ 1 ครั้ง ขึ้นนั่งบนเบญจา ประชาชนผู้ศรัทธาจะนำน้ำสะอาดผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอม โรยด้วยดอกไม้ เช่น ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ เป็นต้น ไปใส่ในลำเรือ แล้วเปิดน้ำให้ไหลไปตามท่อลำตัวพญานาคและไหลออกทางปากพญานาค คล้ายพญานาคพ่นน้ำรดพระภิกษุจนเปียกทั้งตัว เรียกว่า สระหัวเมื่อรดน้ำดำหัวหรือสระหัวพระภิกษุเสร็จแล้ว หลังจากนั้นมีการรดน้ำสระหัวผู้สูงอายุที่เป็นที่เคารพนับถือของลูกหลาน หรือประชาชนในหมู่บ้านซึ่งบุตรหลานและประชาชนจะปฏิบัติเช่นเดียวกับรดน้ำพระภิกษุ เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโสจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดใหม่ที่ลูกหลานได้เตรียมไว้ให้ หลังจากนั้นผู้อาวุโสจะให้ศีลให้พรแก่ผู้ร่วมงาน จึงถือได้ว่าประเพณีนี้เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณของชาวใต้


 Culture of Head Washing

            It is organized annually during Songkran Festival that is on 13th -14th -15th April.

            Southern people often performed this culture to revered monks through “Benja” a naga shaped tube that people would pour water on the nana and the water flew along the tube where monks were at the end. It looked like naga sprayed water to monks. After after giving head washing to monks then it would be the time for elder people the same way as it was done to monks. The elder people would bless the younger generations after the function. The activity has been regarding as expressing gratefulness of southern people.

ประเพณีการบวช

               ชาวพุทธในภาคใต้ มีความเชื่อว่าการบวชในพระพุทธศาสนาเป็นบุญกุศลอย่างยิ่งแก่ผู้บวช บิดา-มารดา และญาติมิตร ครอบครัวใดมีบุตรชาย มักตั้งใจไว้ว่าจะได้มีโอกาส เกาะชายผ้าเหลืองเข้าโบสถ์การบวชนี้ยังได้รับการยกย่องจากสังคมในท้องถิ่นนั้นด้วยว่าพ้นภาวะจากการเป็นคนดิบ

               การบวชหรือการบรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนานั้น บุตรชายของครอบครัวใดมีศรัทธาและพร้อมที่จะบวช จะต้องเข้ามาอยู่ในวัดที่จะบวชก่อนประมาณ 15 วัน เพื่อจะได้เกิดความเคยชินและศึกษาเล่าเรียนรู้กิจปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์

               เมื่อถึงเวลาการบวชจะมีพิธีการโกนผม การตระเตรียมนาค การแห่นาค และการขานนาค จนเสร็จพิธีการบรรพชา อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ซึ่งเรียกกันว่า พระนวกะซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

               พิธีการโกนผม โดยพระภิกษุเป็นประธานมีบิดา มารดา ช่วยในการโกน-ปลงผม คิ้ว ตามด้วยญาติผู้ใหญ่และผู้ชำนาญโกนจนเสร็จเรียบร้อย

               การตระเตรียมนาค เมื่อผู้บวชแต่งชุดเจ้านาคแล้ว อาจมีการทำพิธีขออโหสิกรรมต่อญาติผู้ใหญ่

ด้วยดอกไม้-ธูปเทียน การทำขวัญนาค เพื่อให้ตระหนักถึงบุญคุณของบิดา-มารดา เป็นต้น

               การแห่นาค เจ้านาคจะเดินทางจากที่พักไปยังที่วัด โดยใช้ยานพาหนะตามสะดวก เช่น ม้าทรงหรือขี่คอเพื่อนฝูงญาติผู้ใหญ่ เป็นต้น หน้าขบวนนำด้วยกลองยาว หรือมโนราห์ หรือหนังตะลุงร่ายรำ และขับบทกลอนหรือการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ อย่างสนุกสนาน ขบวนแห่นาคจะเดินวนเวียนโบสถ์ 3 รอบ แล้วจึงข้าไปทำพิธีบวชภายในอุโบสถ

               การขานนาค เมื่อเจ้านาคเปล่งวาจาขอบวชต่อหน้าพระอุปัชฌาป์แล้วดำเนินตามพุทธบัญญัติและพระคู่สวด 2 รูป ถาม-ตอบ อันตราณิกธรรม อันเรียกว่า ขานนาคและเสร็จสมบูรณ์การบวชด้วย การสวดญัตติจตุตถ-กรรมรุ่งเช้าพระภิกษุใหม่ หรือพระนวกะจะเริ่มวัตรปฏิบัติออกบิณฑบาตตามบ้านเรือนประชาชน

Culture of Ordaining

        Buddhist people in the South believed that going into monkhood is of a great merit to ordainers, parents, and relatives. Any family had a son, it was expected to be able to “touch with yellow cloth and get into the ubosoth”. Getting into monkhood is also accepted in the social that having passed the status of “undone Buddhist”.

        To be a monk, a son of a Buddhist family would stay in a temple 15 days before the ordaining to study and learn regulations and duty of monk.

        Procession of oradination are shaving head, preparing Naga (the person to be ordained into monkhood), Naga parade, and ordination chanting.