โครงการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา
โครงการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลารศ.ดร. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน มีใจความว่า
"ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมมหาวิทยาลัยทักษิณมียุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมเรื่องการนวัตกรรมสังคมขอบข่ายของศิลปวัฒนธรรมและก็เรื่องของภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณพยายามที่จะส่งเสริมสนับสนุนเรื่องของการวิจัย เรื่องของนวัตกรรมทางภูมิปัญญา เพื่อที่จะทำให้เกิดเป้าหมายของการอนุรักษ์รักษาทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและทำให้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างระบบคุณค่า ระบบของการหลอมรวมผู้คนให้ร่วมกันตระหนักและ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการขับเคลื่อนที่ทำให้ศิลปะ วัฒนธรรม กลายเป็นมูลค่าทางสังคมขึ้นมาให้ได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งเป็นกระบวนการที่จะส่งเสริมสนับสนุนที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและทำให้ผู้คนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนของการสร้างความเข้มแข็ง เพราะฉะนั้นการที่มหาวิทยาลัยทักษิณมีโครงการวิจัยหรือโครงการบริการวิชาการเรื่องการทำเส้นทางท่องเที่ยวบนวิถีวัฒนธรรมอันนี้ก็มีเป้าหมายที่สำคัญทั้งในแง่มุมของการสร้างคุณค่าทำให้เกิดมูลค่า ทำให้เกิดการตระหนักของการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของการส่งเสริมสนับสนุนให้มีมูลค่าที่สามารถที่จะทำให้เกิดการพึ่งตนเองของชุมชนหรือทำให้ชุมชนมีความรักและความหวงแหน และร่วมกันในการอนุรักษ์ รักษามากขึ้น ทำให้เห็นว่าในทะเลสาบสงขลาที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม วันนี้จะทำให้ชุมชนมีความตื่นตัว มีความตระหนักผู้คนได้หันมาร่วมกันในการที่จะดูแลรักษา และการทำเรื่องเส้นทางการท่องเที่ยว คือ การร้อยวัฒนธรรมร้อยความแตกต่างหลากหลายแล้วก็ทำให้เกิดการเห็นทิศทางเห็นความร่วมมือเห็นพลังของทั้งหน่วยงานภาครัฐเห็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเห็นความร่วมมือของนักวิจัยที่จะไปร่วมสนับสนุนกับชุมชนท้องถิ่น เป็นกระบวนการที่สำคัญของชุมชนท้องถิ่นในการที่จะลุกขึ้นมาจัดการตนเองทั้งในแง่มุมทางด้านการท่องเที่ยวหรือในแง่มุมการทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในมิติต่างๆในอนาคตทางด้านศิลปะวัฒนธรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจสังคมต่างๆเหล่านี้เป็นต้น.. สังคมยุคหลังโควิดถนนทุกสายจะพุ่งไปหาชุมชนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น เป็นชุมชนท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ใหม่ องค์ความรู้มุมมองใหม่ๆที่จะเปิดองค์ความรู้ใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆที่จะเปิดให้ผู้คนเหล่านี้ได้มาพบมาสัมผัสกับความแตกต่าง ความแปลกใหม่และก็จะเป็นประสบการณ์ชีวิตใหม่ จึงอยากส่งเสริมสนับสนุนและอยากจะเชิญชวนทั้งผู้คนในสังคมหรือนักท่องเที่ยว หรือ ผู้คนที่สนใจชุมชนท้องถิ่นได้มาให้ความสำคัญและร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของการอนุรักษ์ รักษาทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญากันในรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น เราก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้มแข็งของสังคมไทยจากข้างล่าง เป็นความเข้มแข็งของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของการจัดการตนเอง เป็นความเข้มแข็งท้องถิ่นที่อยู่บนฐานศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ทำให้เราทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เราสามารถสัมผัสได้ร่วมกัน"
๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๗ ณ วิสาหกิจชุมชนตาลโตนด โหนด นา เล ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา